ความเป็นมาของระบบสาธารณสุขไทยและสาธารณสุขสตูล
การขยายระบบสาธารณสุขชุมชนได้เริ่มต้นก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในช่วงปี 2455 หลัง “กรมพลาภัง” (ชื่อกรมการปกครองในอดีต) กระทรวงมหาดไทย ได้รับโอนกองโอสถศาลารัฐบาล กองทาพันธุ์ฝีหนอง กองแพทย์และแพทย์ ประจาเมือง จากกระทรวงธรรมาการ และมีแนวคิดในการจัดให้มีแพทย์ประจาหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งสถานที่เพื่อดูแลผู้ป่วย จาหน่ายยาและเวชภัณฑ์ ที่เรียกในชื่อต่างๆ ว่า “โอสถศาลา” “โอสถสภา” และ “โอสถสถาน” แต่ไม่ได้ดาเนินการ เนื่องจากติดงบประมาณซึ่งต้องใช้จานวนมาก โดยรัฐขณะนั้นมองว่าเป็นเรื่องที่เกินกาลังงบประมาณ และเป็นเรื่องที่ท้องถิ่นควรดาเนินการเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นเอง จึงไม่ควรเกี่ยวข้องกับเงินหลวง ด้วยเหตุนี้การขยายระบบรักษาพยาบาลจึงยังเป็น เพียงแค่แนวคิด แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเข้าสู่การขยายระบบรักษาพยาบาลครั้งใหญ่ ด้วยหลักการของระบอบประชาธิปไตย ทาให้รัฐบาลซึ่งมีที่มาจากประชาชน มีหน้าที่ต้องดูแลประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ทาให้ในปี 2477 ซึ่งเป็นปีที่มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสาธารณสุข” กาหนดให้จัดตั้งเทศบาลขึ้นทั่วประเทศแทนสุขาภิบาล รัฐบาลขณะนั้นได้มีคาสั่งให้กรมสาธารณสุขจัดทา “โครงการสร้างโรงพยาบาลในทุกจังหวัด” โดยให้ดาเนินการในจังหวัดตามแนวชายแดนก่อน เป็นไปตามนโยบาย “อวดธง” ที่ต้องการให้ประเทศเพื่อนบ้านเห็นความเจริญของไทย ทาให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลประจาจังหวัดอุบลราชธานี, หนองคาย, นครพนม และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
รัฐบาลขณะนั้นเห็นว่า ควรให้ความสาคัญกับงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข และต้องดาเนินการโดยเร็ว เนื่องจากมองว่าการแพทย์และสาธารณสุขเป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับประชากร ให้มีสุขภาพที่ดี ตามแนวคิด “รัฐเวชกรรม” จึงควรจัดให้มีโรงพยาบาล สุขศาลา สถานีบาบัดโรค และรัฐจะเป็น ผู้จ้างแพทย์ ผู้ช่วยแพทย์ ตลอดจนบุคลากรด้านสาธารณสุข เพื่อดูแลสุขภาพรวมถึงการรักษาโรคให้กับประชาชน จะเห็นได้ว่างานด้านการแพทย์และสาธารณสุขเริ่มได้รับความสาคัญในช่วงขณะนั้น วันที่ 10 มีนาคม 2485 ได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นตาม พรบ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3)
ในปี 2489 รัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ ได้เดินหน้านโยบาย “สร้างโรงพยาบาลใหม่ในทุกจังหวัด” โดยมีการเสนอ “โครงการจัดตั้งโรงพยาบาลและสุขศาลา” ที่มุ่งให้มีการขยายโรงพยาบาลตามจังหวัดต่างๆ และสุขศาลาอย่างแพร่หลาย เพื่อช่วยให้ประชาชนได้รับการบาบัดรักษาและป้องกันโรคอย่างทั่วถึง ซึ่งขณะนั้นยังมีจังหวัดที่ไม่มีโรงพยาบาลมากถึง 37 จังหวัด ในการจัดตั้งโรงพยาบาลประจาจังหวัดขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุขเห็นควรให้มีการจัดสร้างเป็นโรงพยาบาลขนาดกลางเพื่อรองรับผู้ป่วยอย่างน้อย 50 เตียงก่อน ส่วนการจัดสร้างโรงพยาบาลขนาดเล็กนั้น ให้พิจารณาจากขนาดชุมชน ซึ่งหากพื้นที่ใดได้ขยายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ จึงให้ขยายสุขศาลาเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กเพื่อรองรับ
ตามจานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้มีการโอนโรงพยาบาลในส่วนเทศบาลมาเป็นของรัฐทั้งหมดขณะนั้นมีอยู่ 15 แห่ง เนื่องจากอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ไม่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างเต็มที่
สาหรับงบประมาณเพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลใหม่นั้น กระทรวงสาธารณสุขในตอนนั้นได้เสนอให้แต่ละจังหวัดช่วยกันระดมทุนในการก่อสร้าง ด้วยการจัดตั้งเป็นองค์กรการกุศลสาธารณสุข เพื่อหาเงินสมทบกับงบประมาณภาครัฐในการก่อสร้างเรียกว่าเป็นการอาศัยความร่วมมือของท้องถิ่นเป็นสาคัญ ไม่ต้องรองบประมาณแผ่นดินเพียงอย่างเดียว และต่อมาในปี 2490 มีการเปลี่ยนรัฐบาล การก่อสร้างโรงพยาบาลให้ครบทุกจังหวัดยังคงเดินหน้า แต่ครั้งนี้ได้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ช่วยกาชับไปยังข้าราชการประจาท้องถิ่น โดยเฉพาะในจังหวัดที่ยังไม่มีโรงพยาบาล ให้เร่งดาเนินการจัดตั้ง ซึ่งมีการตั้งเป้าก่อสร้างใน 41 จังหวัด ที่ยังไม่มีโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์จัดตั้ง ทั้งนี้จังหวัดที่ยังไม่มีโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์จัดตั้ง ได้แก่ กระบี่, กาญจนบุรี, ขอนแก่น, ชัยนาท, ชัยภูมิ, ชุมพร, ตราด, นครนายก,นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์, ปทุมธานี, ประจวบคีรีขันธ์, พังงา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, มหาสารคาม, แม่ฮ่องสอน, ยะลา, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, ลาพูน, เลย, ศรีสะเกษ, สกลนคร, สตูล, สมุทรปราการ,สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุโขทัย, สุราษฎร์ธานี, สุรินทร์, อ่างทอง, อุดรธานี, อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
นโยบายการระดมทุนภายในท้องถิ่นกันเอง เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลในจังหวัดที่ยังไม่มีโรงพยาบาลนั้น ไม่ค่อยได้ผล เพราะจากการประกาศนโยบายในปี 2489 หลังดาเนินการ 3 ปี คือในปี 2491 มีจังหวัดที่สามารถระดมทุนจนจัดตั้งโรงพยาบาลจังหวัด ได้เพียง 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลสุโขทัย และโรงพยาบาลชลบุรี ทั้งโรงพยาบาลจังหวัดที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายหลังยังเป็นการยกระดับจากสุขศาลาที่โอนมาจากกรมสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลสมุทรสงคราม โรงพยาบาลยะลา โรงพยาบาลศรีสะเกษ โรงพยาบาลสตูลนอกจากนั้นเป็นโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขใช้งบประมาณก่อสร้างเอง ได้แก่ โรงพยาบาลเพชรบุรี,โรงพยาบาลระยอง, โรงพยาบาลมหาสารคาม, โรงพยาบาลสุรินทร์, โรงพยาบาลขอนแก่น, โรงพยาบาลอุตรดิตถ์, โรงพยาบาลกระบี่, โรงพยาบาลชัยภูมิ, โรงพยาบาลตราด, และโรงพยาบาลอาเภอโพธาราม ราชบุรี
ในปี พ.ศ. 2475 โอสถศาลา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สุขศาลา” โดยสุขศาลายังแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ กล่าวคือ ท้องถิ่นใดมีประชากรหนาแน่นทางราชการจะส่งแพทย์ไปประจาเรียกสุขศาลานั้นว่า“สุขศาลาชั้นหนึ่ง” ส่วนสุขศาลาที่ไม่มีแพทย์ประจาเรียกว่า “สุขศาลาชั้นสอง” และเมื่อมีการสถาปนากระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2485 กรมการแพทย์ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงดังกล่าวได้รับโอน “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” ที่ตั้งอยู่ตามอาเภอใหญ่ๆ และในบางจังหวัด ไปปรับปรุงขึ้นเป็นโรงพยาบาลประจาอาเภอโรงพยาบาลประจาจังหวัด ในขณะที่บางแห่งให้เทศบาลรับไปดาเนินการ ส่วน“สุขศาลาชั้นหนึ่ง “ที่ไม่ได้โอนไปอยู่กับเทศบาลและไม่ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลให้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอนามัย “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” เหล่านี้จึงพัฒนามาเป็น “สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง” ในปี พ.ศ. 2497 และได้มีการพัฒนา
ต่อเนื่องเป็น “ศูนย์การแพทย์อนามัยชนบท” ในปี พ.ศ.2515 เป็น “ศูนย์การแพทย์และอนามัย” ในปี พ.ศ. 2517 และเป็น “โรงพยาบาลอาเภอ” ในปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน สาหรับ “สุขศาลาชั้นสอง” ส่วนใหญ่อยู่กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีอนามัยชั้นสอง” ในปี พ.ศ.2495 และเป็น“สถานีอนามัย” ในปี พ.ศ. 2515 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2551 หลังจากได้มีการผลักดันให้พัฒนาและยกระดับสถานีอนามัยสู่การเป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล” ตามนโยบายของรัฐบาลสมัยนั้น รัฐบาลให้ความสาคัญกับสุขศาลาชั้นสองหรือสถานีอนามัยในระดับตาบลว่าเป็นการบริการสุขภาพเบื้องต้น รวมทั้งการคัดกรองคนป่วยก่อนไปยังโรงพยาบาลอาเภอที่มีเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์สูงกว่า การดูแลสุขภาพในระดับปฐมภูมิจึงถูกจัดให้ไปอยู่ปลายสุดของระบบบริการสุขภาพ ทั้งที่มีความสาคัญต่อผู้คนและใกล้ชิดชุมชนเป็นอย่างมาก
อนามัยจังหวัดสตูล ได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรก โดยมีขุนนรา เวชกรรม ดารงตาแหน่ง อนามัยจังหวัดคนแรกของสตูล และมีที่ทาการอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด ในสมัยนั้นสถานที่ตั้งศาลากลางจังหวัด คือ คฤหาสน์กูเด็น ซึ่งเดิมคฤหาสน์เป็นจวนของรองอามาตย์ตรี พระยาภูมินารถภักดี (กูบาฮารูเด็น บินตามะหงง) เจ้าเมืองสตูล เป็นอาคารตึกสองชั้นหลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องดินเผาแบบอาคารคล้ายคลึงกับอาคารที่ปีนัง เคยใช้เป็นสถานที่รับเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ในคราวเสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ.2473 (ปัจจุบันคฤหาสน์กูเด็นได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรและเป็นอาคารโบราณแห่งเดียวของจังหวัดสตูล)
ปี 2510 อนามัยจังหวัดได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข ก่อสร้างอาคารที่ทาการอนามัยจังหวัดสตูลแห่งใหม่ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้นพร้อมบ้านพัก ตั้งอยู่ถนนยาตราสวัสดี ตาบลพิมาน อาเภอเมืองสตูล มีเนื้อที่ 4 ไร่ 30.5 ตารางวา ได้ย้ายมาเปิดทาการใน ปี 2512
ปี 2517 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น สานักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล
ปี 2538 ได้แลกเปลี่ยนที่ดิน-สิ่งก่อสร้าง กับโรงพยาบาลสตูล แปลงที่ 1 จานวน 5 ไร่ 3 งาน 23.7 ตารางวา (ที่ราชพัสดุ สต 106) กับที่ดิน สานักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล จานวน 4 ไร่ 30.5 ตารางวา (ที่ราชพัสดุ สต 2) เนื่องจาก โรงพยาบาลสตูลมีที่ดิน จานวน 2 แปลง อยู่สองฟากถนนหัตถกรรมศึกษา ไม่เหมาะที่จะขยายสิ่งก่อสร้างในอนาคตและไม่สะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องข้ามผ่านถนนไปมาในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ
ปี 2540 สานักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน มิถุนายน 2542
โรงพยาบาลสตูล เดิมเป็นสุขศาลาชั้น 1 ได้รับโอนจากกรมสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2493 เปิดรับบริการผู้ป่วยนอก สุขศาลานี้เป็นเรือนไม้ และได้เปลี่ยนชื่อจากสุขศาลาเป็นโรงพยาบาลสตูล ต่อมาได้รับงบประมาณสร้างอาคารผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วยใน 25 เตียง 2 หอ บ้านพักแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่โดยได้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2496 จึงได้ย้ายมาตรวจผู้ป่วยที่อาคารผู้ป่วยนอกหลังใหม่ เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม 2496
ปี 2496 โรงพยาบาลเปิดรับคนไข้ ในขณะนั้นจังหวัดยังไม่มีไฟฟ้า จึงต้องใช้ตะเกียง พ่อค้าประชาชน ข้าราชการ เห็นว่าสมควรจะมีไฟฟ้า จึงได้ร่วมกันบริจาคเงินซื้อเครื่องกาเนิดไฟฟ้าให้โรงพยาบาลโดยโรงพยาบาลเปิดรับคนไข้สามัญ 25 เตียง และได้ดัดแปลงหอผู้ป่วยสามัญอีก 1 หอ เป็นหอพิเศษ
ปี 2504 สร้างอาคารอานวยการหลังใหม่ โดยรื้ออาคารอานวยการเดิมออก
ปี 2505 สร้างตึกคนไข้สามัญ โดยรื้ออาคารหอผู้ป่วยในเดิม 2 หลัง ออกได้สร้างอาคารผู้ป่วยนอกขึ้นใหม่บริเวณฝั่งตรงข้าม (ขณะนั้นโรงพยาบาลสตูลแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยมีถนนหัตถกรรมศึกษาคั่นกลาง) เป็นอาคาร คสล. ขนาด 2 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2521 และเปิดใช้เมื่อ เดือน มีนาคม 2522 2 กุมภาพันธ์ 2535 สร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ขนาด 4 ชั้น แล้วเสร็จ 24 กันยายน 2536 30 กันยายน 2538 สร้างอาคารผู้ป่วยใน 4 ชั้น 120 เตียง แล้วเสร็จ 7 ตุลาคม 2540 เปิดใช้30 มกราคม 2541 (ตึกสิรินธร) โรงพยาบาลสตูลปัจจุบัน เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 186 เตียง ตั้งอยู่ที่เลขที่ 55/1 ถนนหัตถกรรมศึกษา ตาบลพิมาน อาเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้ทาการแลกเปลี่ยนที่ดินและสิ่งก่อสร้างกับ สานักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลเพื่อให้มีที่ดินเป็นผืนเดียวกันโดยมีเนื้อที่ 25 ไร่ 52.8 ตารางวา มีบุคลากรทั้งสิ้นประมาณ 500 คนเศษ (ข้าราชการ ลูกจ้างประจา ลูกจ้างชั่วคราว)